ข้ามไปเนื้อหา

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
Faculty of Humanities Naresuan University
สัญลักษณ์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-06-28)
คณบดีรศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
ที่อยู่
วารสารสุวรรณภิงคารสาร
สี  สีน้ำตาล
มาสคอต
สุวรรณภิงคาร หรือ กลศ
เว็บไซต์human.nu.ac.th
สุวรรณภิงคารจากพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ : Faculty of Humanities, Naresuan University) มีความเป็นมาหลายยุค หลายสมัย ตั้งแต่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก และมหาวิทยาลัยนเรศวร ในปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีภารกิจในการสอนวิชาศึกษาทั่วไป วิชาเฉพาะและวิชาเลือกเสรี ให้แก่นิสิตคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ประวัติ

[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งมีการจัดตั้ง "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517[1]

แต่เดิมก่อนที่จะมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้พัฒนามาจากคณะวิชา "มนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก" (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์) สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่างในภูมิภาคของประเทศไทย ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตครูสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ได้แก่ วิชาเอกสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นต้น

จากนั้น หลังได้รับการยกฐานะให้เป็น "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก" ได้มีการเปิดสอนปริญญาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ในสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้ สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาพม่า ภาษาศาสตร์ และหลักสูตรปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ได้แก่ วิชาเอกศิลปศึกษา ดนตรีศึกษา นาฏศิลป์ศึกษา หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ได้แก่ ทัศนศิลป์ ดุริยางคศาสตร์ นาฏศิลป์ไทย เป็นต้น

ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยนเรศวร" ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ได้มีการรวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร"

และในปี พ.ศ. 2546 ทางสภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีมติในการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ โดยให้รวมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เดิมเป็น "คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร" และให้จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ขึ้นมาใหม่

ภาควิชา

[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งภาควิชาออกเป็น 9 ภาควิชาดังต่อไปนี้

  • ภาควิชาภาษาศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาดนตรีวิทยา
  • ภาควิชาวรรณคดีและคติชนวิทยา
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาศิลปะการแสดง
  • ภาควิชาปรัชญาและศาสนา

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดสอนในหลักสูตรและสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาพม่า
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาภาษาอินโดนีเซีย
  • สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน
  • สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
  • สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • สาขาวิชาฝรั่งเศสศึกษา
  • สาขาวิชาคติชนวิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาการดนตรีและนาฏศิลป์
  • สาขาวิชาภาษาจีน


หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต

(ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาศาสตร์
  • สาขาวิชาคติชนวิทยา

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย

[แก้]

เป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร มีฐานะเป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร สังกัดภาควิชาดนตรี ที่จัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีไทยในระดับปริญญาตรี เริ่มทำการเรียนการสอนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 ณ ขณะนั้นได้สังกัดอยู่กับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย มีการปรับเปลี่ยนสถานะอยู่หลายคราว ขึ้นกับการจัดระบบบริหารงานของคณะมนุษยศาสตร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา : พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗ เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564.